030-มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน และการรายงานผลการดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน

O30

เพิ่มเติมข้อ30-รายงานผลการดำเนินการฯ-

วันที่ 21 มี.ค.2566 เวลา 10.00 น. พ.ต.อ.พิเชษพงศ์ ธนาบูรณศักดิ์ ผกก.สภ.น้ำปาด ได้ประชุมเจ้าหน้าที่ฝ่ายอำนวยการ เพื่อเตรียมความพร้อม การตรวจงานแนวทางการยกระดับการบริการประชาชนและแนวทางการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐของสถานีตำรวจ(POLICE ITA 2023) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566
1.ศึกษาและวิเคราะห์กรอบการประเมิน ประเด็นที่ต้องปรับปรุง/ยกระดับการพัฒนา
2.กำหนดมาตรการ/กิจกรรม ในการเตรียมความพร้อมรับการประเมิน ทั้งด้านระบบงาน พฤติกรรมและวัฒนธรรมของผู้ปฏิบัติงานการสื่อสารสร้างการรับรู้ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก แยกตามตัวชี้วัด
3.การกำหนดหน้าที่ในความรับผิดชอบ
4.การกำกับติดตามโดยหัวหน้าสถานีตำรวจ  

เมื่อวันที่ 28 มี.ค.2566 สภ.น้ำปาด ได้ดำเนินการประชุมการขับเคลื่อนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA)ของสถานีตำรวจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยมี พ.ต.อ. พิเชษพงศ์ ธนาบูรณศักดิ์ ผกก.สภ.น้ำปาด เป็นประธานการประชุม ซึ่งการประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อแจ้งคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ของสถานีตำรวจ และทำความเข้าใจการ อบการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity Transparency Assessment: ITA) ของสถานีตำรวจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ประกอบด้วย 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่
1) การเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (Open Data Integrity and Transparency Assessment: OIT)
– ให้สถานีตำรวจศึกษาการเข้าใช้ระบบ POLICEITA พร้อมจัดทำข้อมูลสาธารณะตามแบบฟอร์มที่กำหนดลงในระบบดังกล่าว
2) แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (Internal Integrity and Transparency Assessment: IIT)
– ให้สถานีตำรวจทำความเข้าใจในข้อคำถามและสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับประเด็นข้อคำถามให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในทราบ ก่อนทำการประเมินแบบวัดการรับรู้
3) แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (External Integrity and Transparency Assessment: EIT)
– ให้สถานีตำรวจนำช่องทางการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (OIT) เปิดเผย ณ จุดให้บริการ และพัฒนา                         การให้บริการเพื่อสร้างความรวดเร็วและความสะดวกให้แก่ประชาชน ก่อนทำการประเมินแบบวัดการรับรู้