014 แนวปฏิบัติในการใช้ดุลยพินิจไม่รับคำร้องทุกข์ ในคดีอาญา

กรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่รับคำร้องทุกข์ หรือไม่รับแจ้งความ อาจมีได้หลายกรณี เช่น

พนักงานสอบสวนเห็นว่า การกระทำไม่เข้าองค์ประกอบความผิด หรือไม่เป็นความผิดอาญา เช่น คดีเช็ค หรือ คดีอาญาอื่น ที่ไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอ ที่จะดำเนินคดีกับผู้ต้องหาการกระทำความผิดไม่อยู่ในเขตอำนาจสอบสวน
มาตรา 18 กำหนดเขตอำนาจสอบสวนเป็นหลักทั่วไปว่า ในจังหวัดอื่นนอกจาก พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ปลัดอำเภอ และ ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่า นายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป มีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิด หรืออ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน หรือผู้ต้องหามีที่อยู่ หรือถูกจับภายในเขตอำนาจของตนได้ ให้ข้าราชการตำรวจ ซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรี หรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป มีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิด หรืออ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน หรือผู้ต้องหา มีที่อยู่ หรือถูกจับ ภายในเขตอำนาจ ของตนได้ ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติใน มาตรา 19 มาตรา 20 และ มาตรา 21 ความผิดอาญาได้เกิดในเขตอำนาจพนักงานสอบสวนคนใด โดยปกติให้เป็นหน้าที่พนักงานสอบสวนผู้นั้น เป็นผู้รับผิดชอบในการ สอบสวนความผิดนั้น ๆ เพื่อดำเนินคดี เว้นแต่เมื่อมีเหตุจำเป็นหรือ เพื่อความสะดวก จึงให้พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ผู้ต้องหามีที่ อยู่หรือถูกจับ เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการสอบสวนในเขตท้องที่ใดมีพนักงานสอบสวนหลายคน การดำเนินการ สอบสวนให้อยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวนผู้เป็นหัวหน้า ในท้องที่นั้นหรือผู้รักษาการแทน

คดีขาดอายุความ

เช่น ในคดีความผิดตาม พรบ.เช็ค,คดีฉ้อโกง ยักยอก ซึ่งเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวที่กฎหมายกำหนดให้ต้องร้องทุกข์ภายใน ๓ เดือน เจ้าหน้าที่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้ดุลพินิจไม่ถูกต้อง แนวทางแก้ไขเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่รับแจ้งความร้องทุกข์ท่านต้องดำเนินการว่าจ้างทนายความเพื่อฟ้องร้องดำเนินคดีด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้ทนายเป็นผู้ร้องทุกข์ตามกฎหมายแทนท่านต่อไป 

O14